Search
Close this search box.

สามารถศึกษารายละเอียด ขั้นตอนการพิจารณาได้ที่ https://wuec.wu.ac.th/?page_id=36

มี 3 ประเภท 1)การพิจารณาแบบเต็มชุด (Full Board Review) 2) การพิจารณาแบบยกเว้น (Exemption review) การพิจารณาสำหรับโครงการวิจัยที่ไม่มีประเด็นจริยธรรมการวิจัยซึ่งสามารถขอยกเว้นการรับรอง และ 3)การพิจารณาแบบ Expedited review (การพิจารณาแบบเร่งด่วน) สำหรับโครงการวิจัยที่มีความเสี่ยงต่ำหรือไม่มีความเสี่ยงต่ออาสาสมัคร ตรวจสอบประเภทการยื่นได้ที่ https://wuec.wu.ac.th/?page_id=1187

การวิจัยในมนุษย์ทุกโครงการต้องขอ EC/IRB ไม่ว่าจะเป็น การเก็บสิ่งส่งตรวจ ตัวอย่างชีวภาพ จากอาสาสมัครหรือศพ การสัมภาษณ์ ตอบคำถามในแบบสอบถาม เป็นต้น 

นักวิจัยยื่นแบบฟอร์ม WUF01-13/1.0 (ขอปรับแก้โครงการวิจัยที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Amendment)) พร้อมทั้งแนบเอกสารในส่วนที่ได้ปรับเปลี่ยนตามแบบฟอร์ม ส่งมายังสำนักงานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ DOMS/หรือหน่วยงานต้นสังกัด (พร้อมต้นฉบับ) และรอผลการประเมินจากคณะกรรมการ จึงจะดำเนินการวิจัยต่อได้

จัดทำ WUF01-16/1.0 (รายงานสรุปผลการวิจัยและแจ้งปิดโครงการ) เพื่อแจ้งปิดโครงการมายังสำนักงานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ DOMS

สำหรับโครงการวิจัยในมนุษย์ EC/IRB  จะมีข้อกำหนดการผ่านการอบรมโดยหัวหน้าโครงการ รวมถึงผู้ร่วมวิจัยในโครงการ ควรผ่านการอบรมด้านการปฏิบัติการทางคลินิกที่ดี (Good Clinical Practice (GCP) และ/หรือ จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Human Research Ethics)

เอกสารข้อมูลและขอความยินยอมที่ใช้กับอาสาสมัคร จะต้องผ่านการพิจารณาและรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ก่อนนำไปใช้เพื่อสื่อสารและขอความยินยอม

สามารถโอนค่าธรรมเนียม และส่งหลักฐานการชำระเงินมาพร้อมกับเอกสารยื่นขอพิจารณาโครงการ หรือ แจ้งชำระเงินผ่านระบบ ได้ที่ https://wuec.wu.ac.th/?page_id=2205